รายงานผู้ป่วยที่มีปัญหาท่อระบายน้ำตาอุดตันและได้รับการรักษาด้วยวิธี สยาม 2 จนหายขาด

รายที่ 1 นางนริศรา วิเชียรสาร อายุ 24 ปี

ที่อยู่ 47/419 คอนโดสมชาย อ.บางกรวย ต.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130 โทร. 02-8795824

ที่ทำงาน ห้างโลตัส สาขาประชาชื่น ตำแหน่ง พนักงานแคชเชียร์ โทร. 02-9106000

ประวัติการรักษา ตาซ้ายมีน้ำตาไหลมา 2 ปีเศษ

         เคยรับการรักษาที่รพ.รามาธิบดี จักษุแพทย์แนะนำให้รับการผ่าตัดเพื่อทำท่อระบายนํ้าตาใหม่ หรือ ใส่สายยางซิลิโคนคาเอาไว้ 6 เดือน แต่ผู้ป่วยรับไม่ได้กับการรักษาทั้ง 2 วิธี เนื่องจากผู้ป่วยยังสาวและหน้าตาดี ประกอบกับหน้าที่การงานที่ต้องพบปะผู้คนทั้งวัน ผู้ป่วยจึงเปลี่ยนไปรักษาที่รพ.ปากเกร็ดเวชการ ซึ่งจักษุแพทย์ก็แนะนำวิธีรักษาโดยการผ่าตัดเช่นกัน ขณะที่กำลังอยู่ในระหว่างการตัดสินใจที่จะไปรับการผ่าตัดที่รพ.วชิระ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2542 ผู้ป่วยได้ย้ายประกันสังคมมาที่โรงพยาบาล............ จึงทดลองมาตรวจเรื่อง ตาซ้ายมีน้ำตาไหลบ่อยๆ และไม่คิดว่าจะมีวิธีรักษาที่แตกต่างจากที่อื่นๆ แต่ได้เล่าปัญหาที่ผ่านมาทั้งหมดและขอร้องให้หาวิธีรักษาให้หายขาดโดยไม่ต้องผ่าตัด จากความมุ่งมั่นและความร่วมมือของผู้ป่วยรายนี้ ผู้วิจัยจึงได้เริ่มพัฒนาวิธีการรักษาแบบง่ายๆ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2542 โดยใช้ลวดสเตนเลส แยงให้ผ่านส่วนที่อุดตัน และพัฒนารูปแบบให้สามารถคาลวดเอาไว้ในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อให้ท่อที่รื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ สามารถคงสภาพอยู่ได้ภายหลังจากถอดลวดออก จนได้รูปแบบที่ประสบความสำเร็จ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 โดยช่วงแรกคา ไทยโพรบ เอาไว้เพียง 3 วัน เนื่องจากผู้ป่วยขอถอดออกเพื่อไปทำธุระเร่งด่วนที่ต่างจังหวัด หลังจากนั้น 3 วัน ก็กลับมาใส่ต่ออีก 6 วัน และถอดออก เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 จากการตรวจติดตามผลทั้งหมด 4 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2543 ไม่พบการกำเริบซํ้า และจากการโทรศัพท์ติดตามผลครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เป็นเวลา 2 ปี ก็ยังไม่พบการกำเริบซํ้าแต่อย่างใด และผู้ป่วยพอใจกับการรักษาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ป่วยได้พบเห็นและพูดคุยกับคนใกล้ตัวที่มีปัญหาโรคนี้ และไปรับการผ่าตัดมาแล้ว ล้วนแต่มีปัญหาแทรกซ้อนและผลข้างเคียงต่อเนื่องเป็นส่วนใหญ่

รายที่ 2 นาง กมลทิพย์ ธรรมศรี อายุ 26 ปี

ที่อยู่ 60 หมู่ 2 บางขนุน บางกรวย นนทบุรี 11130 โทร. 089-8880485

ที่ทำงาน บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหาร เชฟช้อย จำกัด โทร. 02-4475473

ประวัติการรักษา ตาขวาแฉะและมีหนองเรื้อรังมา 5 ปี

         เคยรักษากับจักษุแพทย์ที่ รพ.ศิริราช อยู่ 1 ปี ได้รับยากินและยาหยอดตาทุกเดือน แต่อาการไม่ดีขึ้น หลังจากเปลี่ยนมาทำประกันสังคมที่โรงพยาบาล........... จึงเข้ารับการรักษาครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ได้รับการวินิจฉัยเป็น โรคถุงนํ้าตาเป็นหนองเรื้อรัง มีเมือกขุ่น เหม็น และ บางครั้งเป็นหนองออกมาทางหัวตาเรื้อรัง ได้รับการรักษาด้วยวิธีสยาม 1 แล้วตามด้วย วิธีสยาม 2 โดยคา ไทยโพรบ เอาไว้ 5 วัน ( 30 มิย. – 5 กค. 2543 ) หลังจากถอดออกแล้ว ได้มารับการตรวจติดตามผลอย่างต่อเนื่อง จนถึงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2544 รวมระยะเวลา 6 เดือนเศษ ไม่พบการกำเริบซ้ำ และจากการโทรศัพท์ติดตามผลครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เป็นเวลา 1 ปี 7 เดือนเศษ ผู้ป่วยยังยืนยันว่าหายขาด

         ผู้ป่วยรายนี้เป็นตัวอย่างที่ดีว่า แม้แต่ในรายที่มีการอุดตันมานานและมีการติดเชื้อแทรกเรื้อรัง ก็สามารถใช้ ไทยโพรบ ฟื้นฟูสภาพท่อเดิมให้กลับมาใช้งานได้อีก ( จากประสบการณ์การรักษาให้กับผู้ป่วยจนถึงปัจจุบัน มีข้อสังเกตุว่า ผู้ป่วยที่ยังสาว จะประสบความสำเร็จจากการรักษาด้วยวิธีง่ายๆนี้เกือบร้อยเปอร์เซนต์ เมื่อเทียบกับผู้สูงอายุที่ได้ผลน้อยกว่า โดยตั้งสมมุติฐานว่า อาจมีสาเหตุจากปริมาณฮอร์โมนในร่างกายที่ลดลง ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคโดยไลโซไซมในนํ้าตาที่ลดลง และตะกอนในนํ้าตาที่เพิ่มมากขึ้นตามอายุ )

รายที่ 3 นางสาว ปิยะมาศ เจียรสถิตย์ อายุ 26 ป

ที่อยู่ เพชรเกษม 39 อพาร์ทเมนท์ ห้อง 465 โทร. 02-8047061-71 , 081-7509318

ประวัติการรักษา ตาซ้ายมีอาการน้ำตาไหลมา 3 ปี เคยรักษากับจักษุแพทย์ตามคลีนิค ไม่หาย เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล................ เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2544 ด้วยวิธี สยาม 1 แล้วตามด้วยวิธี สยาม 2 โดยคา ไทยโพรบ เอาไว้ 3 ครั้ง ครั้งแรก ไม่ได้ผล คาดว่า สาเหตุน่าจะมาจากการคาเอาไว้เพียง 2 วัน ซึ่งน้อยเกินไป ครั้งที่ 2 คาเอาไว้ 4 วัน ไม่ได้ผลอีก เนื่องจากทดลองนำลวดขนาดเล็กกว่า ( ขนาด 0.4 มม. )มาทำ เพื่อที่จะสอดใส่ได้ง่าย ครั้งที่ 3 คาเอาไว้ 4 วัน เช่นกัน แต่ใช้ลวด ขนาด 0.8 มม. ที่มีขนาดใหญ่กว่า หลังจากถอดออกแล้ว ได้มารับการตรวจติดตามผลอย่างต่อเนื่อง จนครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ไม่พบว่ามีการกำเริบซํ้า และจากการโทรศัพท์ติดตามผล เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เป็นเวลา 11 เดือนภายหลังการรักษา ก็ยังปกติดี ไม่มีอาการกำเริบซ้ำอีก

รายที่ 4 นส.เอื้องน้อย ร้อยบาง อายุ 33 ป

ที่อยู่ 56/38 ม.7 ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี

โทร. 081-5624511 02-5273485

ที่ทำงาน บริษัท คอนโทรลคอมโปเน้นท์ จำกัด แผนก เทอร์โมสตาท

โทร. 02-5011176-7

ประวัติการรักษา ตาซ้ายมีน้ำตาไหลมา 20 กว่าปี

         เคยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล พระนั่งเกล้า จักษุแพทย์ชายคนแรกพยายามบ่ายเบี่ยงที่จะรักษา จนผู้ป่วยเบื่อหน่าย จึงเปลี่ยนไปรับการรักษากับจักษุแพทย์หญิงอีกท่านหนึ่ง ซึ่งแนะนำให้รับการรักษาโดยการผ่าตัดทำช่องทางระบายน้ำตาใหม่ พอถึงวันนัดผ่าตัด จักษุแพทย์ท่านดังกล่าวเปลี่ยนใจไม่อยากทำผ่าตัดให้ เพราะว่ารายก่อนหน้านี้ผ่าตัดแล้วไม่ได้ผล และเกรงว่าจะเกิดแผลเป็นที่ใบหน้า ผู้ป่วยจึงตัดสินใจเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล.......... เมื่อวันที่ 13 สค. 2544 เนื่องจากเคยเห็นป้ายประชาสัมพันธ์การรักษาโรคนี้ในโรงพยาบาล จากการตรวจ พบว่า รูเปิดของท่อระบายนํ้าตาตีบ ท่อระบายนํ้าตาส่วนต้นตีบ และมีพังผืดแข็งมากตลอดแนวท่อระบายนํ้าตาส่วนปลาย ได้รับการรักษาด้วยวิธีสยาม 1 แต่ลักษณะการทำงานในอาชีพของผู้ป่วย ทำให้ไม่สามารถนวดหัวตาภายหลังจากการแยงรักษาแล้ว และน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การรักษาไม่ได้ผล จึงทำการรักษาในขั้นตอนต่อไปด้วยวิธีสยาม 2 โดยการคา ไทยโพรบ ครั้งแรก 4 วัน หลังจากถอดออก ก็พบว่าค่อยๆกลับมาตันอีกหลังจากถอดไทยโพรบออกประมาณ 3 สัปดาห์ สาเหตุก็คงจะเกิดจากการที่ผู้ป่วยไม่สามารถนวดหัวตาได้นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ได้แนะนำให้ผู้ป่วยคาไทยโพรบอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2545 ปรากฎว่าวันต่อมา ( คาไทยโพรบได้เพียง 1 วัน ) ผู้ป่วยมาขอถอดออกเนื่องจากทางบริษัทมีคำสั่งด่วนให้ไปแก้ไขงานในต่างจังหวัด หลังจากนั้น ผู้ป่วยไม่ได้มารับการตรวจติดตามผลอีกเลย เนื่องจากงานรัดตัวและรู้สึกว่าหายดีแล้ว จากการโทรตามผู้ป่วยให้มารับการตรวจอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2545 เป็นเวลา 2 เดือนหลังจากถอดไทยโพรบออกครั้งล่าสุด ผลการล้างทดสอบระบบระบายนํ้าตา พบว่า น้ำเกลือไหลลงคอดีมาก

หมายเหตุ

1. การวิจัยนี้ เกิดขึ้นจากปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยเป็นพื้นฐาน

2. เนื่องจากผู้วิจัยเป็นนักวิจัยอิสระ ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องรายงานตัวอย่างผู้ป่วยโดยใช้ชื่อจริง นามสกุลจริง เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ โดยได้รับอนุญาติจากผู้ป่วยทุกรายแล้วให้เผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทาน และผู้วิจัยขอขอบคุณอดีตผู้ป่วยทุกท่านที่กล่าวถึง ที่เป็นส่วนสำคัญในการสรรสร้างผลงานวิจัยชิ้นนี้จนประสบความสำเร็จ.

3.ถึงแม้แนวทางการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดสร้างทางระบายนํ้าตาขึ้นมาใหม่ จะได้รับการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องอยู่ในขณะนี้ ( สามารถเลี่ยงการผ่าตัดบนใบหน้า โดยพัฒนาการผ่าตัดผ่านทางช่องจมูกทดแทน ) อย่างไรก็ตาม การรักษาในแนวอนุรักษ์ ด้วยการฟื้นฟูสภาพท่อระบายน้ำตาเดิม ให้กลับมาใช้งานได้อีก หากได้รับการพัฒนาควบคู่กันไป ก็จะยังประโยชน์ให้แก่ผู้ป่วยโรคนี้ ให้มีทางเลือกที่จะรักษาด้วยวิธีง่ายๆ ค่าใช้จ่ายน้อย และไม่ต้องกังวลกับปัญหาการกำเริบซ้ำอีกต่อไป.

4.การฟื้นฟูท่อระบายน้ำตาที่อุดตันถาวร ให้กลับมาทำงานได้อีกครั้งหนึ่ง โดยวิธีสยาม1และสยาม2 แม้จะได้ไม่ทุกราย โดยเฉพาะในผู้ป่วยหญิงที่มีอายุมากกว่า 45 ปี(อาจจะเกี่ยวกับฮอร์โมนเพศที่ลดลง) ดังนั้น การคิดค้นจึงเริ่มพัฒนาต่อยอดอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2554 โดยตั้งคำถามว่า "ทำอย่างไรไม่ให้ท่อระบายน้ำตาที่แยงผ่านแล้วกลับมาตันอีก ? " และในที่สุดก็ค้นพบคำตอบสุดท้ายคือ
Mitomycin-c eyedrop

หน้า 1 2 3 4

-->กลับสู่หน้าแรก<--

-->เข้าสู่โฮมเพจหลัก ผลงานวิจัยของ นพ. สมเกียรติ อธิคมกุลชัย<--